วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 16

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ  ดิฉันมีความเห็นว่าได้เมือทำงานแต่ละชิ้นงานได้มีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลและได้รับความรู้ใหม่มาเสริมความรู้เดิมที่มีอยู่และดิฉันได้รับประสบการณ์อย่างมากในการทำงานครั้งนี้
2.นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ ได้ความรู้มากและสามารถนำไปไช้ในวิชาชีพครูได้ ได้เรียนรู้เกียวกับการใส่เนื้อหา ใส่เพลง การทำลิงค์ต่างๆ เป็นต้น และดิฉันได้รับความรู้มาก
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบสะดวกรวดเร็วมากเป็นสือที่ทันสมัยประหยัดค่าไช้จ่ายในการทำงาน และได้แลกเปลียนความคิดเห็นกับผู้อืน
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
ตอบ มากที่สุด

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบครั้งที่2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
 1. Classroom Management       การจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน และภายนอกชั้นเรียน การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ 
 2. Happiness Classroom   การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Educationการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)    หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4.formal Education  การศึกษาในระบบ (Formal Education)   เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน
5. Non-formal education     การศึกษานอกระบบหมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
6. E-learning     การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7. Graded       การเรียนระดับชั้น       
8. Policy education       นโยบายการศึกษา
9. Vision วิสัยทัศน์     คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด
10. Mission    พันธ์กิจ มีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธะกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals เป้าหมาย (GOAL) คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการตามเป้าหมาย
12. Objective หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13. Backward design     การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 14.effectiveness คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง
15. efficiency     คือการทำงานอย่างมีประสิทธิผล
16.Economy เศรษฐกิจ (Economy)     คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค
17. Equity     ความเสมอภาพ
18. Empowerment      การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement   การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20 project      แผนงาน เช่นโครงการ, โครงการวิจัย
21.Actives การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา
22.Leadership ความสามารถในการเป็นผู้นำ
23. Leaders   ผู้นำ
24. Follows    ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations สถานการณ์
26. Self awareness การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้
27. Communication   การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness การยืนยันในความคิดตน
29. Time management การบริหารเวลา
30.  POSDCORB หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ การวางแผน   การจัดองค์การ การบรรจุ การสั่งการ การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ
31. Formal Leaders  ผู้บังคับบันชาในหน่วยงานต่างๆ
32. Informal Leaders ผู้นำที่ไม่ใช้ผู้บังคับบันชาเช่นผู้นำของชลเผ่า
33. Environment  สภาพแวดล้อม
34. Globalization   โลกาภิสวัตถ์ การแพร่หลายไปทั่วโลก
33. Competency ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
34. Organization Cultural   ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)  วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน บุคลิกภาพ” (Personality) หรือ จิตวิญญาณ” (Spirit) ขององค์การ
35. Individual Behaviorพฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การจูงใจ
36. Group Behavior พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior) นอกจากจะศึกษาระดับกลุ่มบุคคลแล้ว อีกระดับหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล
37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working การทำงานเป็นกลุ่ม คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกันและมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
39. Six Thinking Hats หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้
40. Classroom Action Research    การวิจัยในชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
วิธีการสอนโดยใช้ Mind Mapping
การนำเข้าสู่การเรียนรู้ ก็คือพยายามเชื่อมโยงความคิดรวบยอด ของการเรียนระหว่าง Mind Map กับ ประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเอง จากนั้นเริ่มนำเข้าสู่ประเด็น มีวิธีคือ
1.เลือกเรื่องที่จะทำ
2.หาภาพประกอบ
3.วางแผนรูปแบบ
4.ลงมือเขียนแผนที่
        ขั้นตอนในการเขียน
             1.เตรียมกระดาษเปล่าและวางกระดาษแนวนอน
             2.เขียนคำหรือข้อความเรื่องที่จะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ
             3.คิดถึงหัวเรื่อง (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย ลงบนเส้น
             4.แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญย่อยออกไป
             5. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียน และเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
ข้อดีของการสอนแบบ Mind Mapping
    1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
    2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
    3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
    4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
    5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ

ยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสอนโดยใช้ เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ เครื่องมือหมวก 6 ใบ
   1. หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลที่เป็นกลาง มีลักษณะเป็นปรนัย ถ้าสมาชิกสวมหมวกสีขาวจะ หมายถึง การขอร้องให้สมาชิกคนอื่นเงียบ ถ้าผู้สวมหมวกสีขาวถามผู้ใด ผู้นั้นต้องให้ข้อเท็จจริง ความรู้ หรือข้อมูลแก่สมาชิก
   2. หมวกสีแดง สีแดงแทนความรู้สึก อารมณ์ สัญชาตญาณ ความหยั่งรู้ ถ้าสวมหมวกสีแดง คือต้องการให้สมาชิกแสดงความรู้สึกของตนต่อเรื่องราวหรือปัญหานั้น ๆ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี กลัว ชื่นชม สงสัย
   3. หมวกสีดำ เป็นสีมืดครึ้ม จึงแสดงความคิดทางลบ เหตุผลในการปฏิเสธ การคิดแบบหมวกสีดำช่วยป้องกันไม่ให้คิดหรือตัดสินใจอย่างง่าย ๆ การสวมหมวกสีดำคือความต้องการให้บอกข้อบกพร่อง ทำให้สามารถ มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้า
   4. หมวกสีเหลือง สีเหลืองเป็นสีที่สว่างไสว จึงแทนสิ่งที่ถูกต้องหรือ การให้กำลังใจ หมวกสีเหลืองจึง หมายถึงเหตุผลทางบวก การสร้างความมั่นใจ เหตุผลในการยอมรับหรือประโยชน์ การสวมหมวกสีเหลือง คือ ความต้องการข้อมูลด้านบวก จุดเด่น คุณค่า ประโยชน์ต่อส่วนรวม
   5. หมวกสีเขียว เปรียบสีเขียวกับธรรมชาติ คือ ความเจริญเติบโต ความคิดใหม่ หมวกสีเขียวคือ การหลีกความคิดเก่า ๆ มุมมองเก่า ๆ ไปสู่ความคิดใหม่ มุมมองใหม่ ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างสรรค์ทุกชนิด ทุกประเภท
   6. หมวกสีฟ้า เปรียบสีฟ้าเหมือนท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง หมวกสีฟ้า จึง หมายถึงการควบคุมและจัดระเบียบกระบวนการและขั้นตอนการใช้หมวกสีอื่น ๆ
แนวคิดของ "หมวกความคิด 6 ใบ" สามารถนำมาดัดแปลงใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทุกระดับ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อาจใช้สื่อคือหมวก 6 ใบ ที่เป็นรูปธรรม คือ มีหมวกตามสีต่าง ๆ ที่กำหนดเป็นสื่อการสอน แต่ถ้าเป็นการสอนในระดับอุดมศึกษา ไม่จำเป็นต้องใช้หมวกจริง เพียงแต่ทำความเข้าใจแนวคิดและความหมายของหมวกแต่ละ สีว่าเป็นการกำหนดให้นักศึกษาอภิปรายหัวข้อเรื่องหรือประเด็นนั้นในแนวคิดใด ก็เพียงพอแล้ว เพราะเมื่อนักศึกษาได้รับการฝึกฝนให้ใช้ระบบ การคิดแบบคู่ขนานบ่อย ๆ ในที่สุดเขาจะสามารถเชื่อมโยงสี ของหมวกกับแนวคิดที่เขาจะอภิปรายได้อย่างคล่องแคล่ว

เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกัน คือ
      แตกต่างกันคือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของเครื่องมือหมวก 6 ใบต้องการให้เด็กมีการเชื่อมโยงความคิดมีการสมุติเป็นสถานการณ์ตางๆโดยสมมุติว่ากำลังสวมหมวกสีอะไรอยู่แล้วมีความรู้สึกอย่างไร ตามความหมายของสีนั้น ส่วนกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโครงงานมุ่งเน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ทางทฤษฎีที่มีความเข้าใจยากกว่าซับซ้อนกว่ากระบวนการคิดจึงแตกต่างกัน

กิจกรรมที่ 13

“The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน


1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสมเท่าที่ควร คือในยุกต์ปัจจุบันนี้มีความสะดวกสะบายมากในเรื่องของการบริโภคต่างๆมักจะไม่ค่อยคิดอะไรมากรวมถึงเรื่องประโยชน์ของสิ่งที่บริโภคนั้นซึ่งอาจมีโทษมากกว่าประโยชน์อีกด้วนซ้ำส่วนในพฤติกรรมสุขภาพเด็กในปัจจุบันไม่ค่อยใส่ใจกันมีเด็กจำนวนมากที่เป็นเด็กหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเด็กติดเกมส์หรือมีเยาวชนหรือผู้ใหญ่บางกลุ่มที่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นเรื่องที่สังคมพยายามอย่างมากที่จะหาทางแก้ไขในฐานะครูในอนาคตผมคิดว่าผมจะต้องเปลี่ยนแนวคิดของเด็กในอนาคตให้เห็นให้รู้และเข้าใจสิ่งที่ควรปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคและการดูแลรักษาสุขภาพ

2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
จะถามว่าเด็กและผู้ใหญ่ไทย มี กีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง คิดว่าจะมีสักกี่คนสักกี่ครอบครัวที่ทำแบบนี้ได้บ้างคงจะมีน้อยมากในสังคมไทยอาจจะมีก็เช่นผู้ป่วยที่ต้องออกกำลังกายขยับกล้ามเนื้ออยู่ทุกวันเป็นประจำเพื่อรักษาอาการป่วย ในประเด็นนี้ฟังดูน่าสนใจมากเด็กไทยควรที่จะได้ฝึกและปฏิบัติอย่างเป็นนิสัยภายใต้การนำของครูพันธ์ใหม่ในอนาคต

3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
การควบคุมอารมณ์หรือการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละวัยของเด็กด้วยการที่จะปิดกั้นความรู้สึกนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีนักอย่างเช่น การแข่งขันที่มีทีมหนึ่งชนะและทีมหนึ่งแพ้ผู้แพ้ย่อมเสียใจเป็นธรรมดาการจะแสดงอาการเสียใจเช่นร้องให้เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องที่ผิดมากนักเพียงแต่ว่าควรมีขอบเขตของการเสียใจด้วยไม่ฟุ้งซ่านโวยวายก็ถือว่าไม่มีอะไรเสีย หายหากวันหนึ่งเป็นได้เป็นครูสอนเด็กก็จะสอนให้เด็กมีความเข้าใจว่าการแสดงออกถึงความเสียใจนั้นเช่นการร้องให้ไม่ใช่เรื่องที่ผิดและไม่ควรปิดกั้นอารมณ์นั้นแสดงออกมาตามที่รู้สึกถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุดแล้ว

4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนั้นยังน้อยกว่า การส่งเสริมวิชาการโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมุ่งให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถจนบางทีลืมคิดไปว่าการสงเสริมเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนนั้นอาจจะยังน้อยไปหรือปล่าว หากถามว่าครูในอนาคตจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรผมคิดว่าควรส่งเสริมไปพร้อมๆกันไม่มีการสอนที่เคร่งเครียดมีกิจกรรมต่างๆที่จะทำให้เด็กมีความสุขสนุกและอยากเรียนอีก

5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ในประเด็นนี้คิดว่าการที่ครูจะทำความรู้จักกับนักเรียนควรทำความรู้จักกันไปเรื่อยๆเวลาแค่ 2 สัปดาห์จะแยกคนที่มีความเสี่ยงออกมาได้ทั้งหมดนั้นคงไม่ได้ ส่วนคนที่ครูรู้และทราบประวัติเบื้องต้นถึงเด็กที่มีปัญหาแน่นอนว่าครูย่อมที่จะหาทางช่วยเหลือ หากตัวข้าพเจ้าเองได้เป็นครูจะมีแนวทางช่วยเหลือคือ คนที่มีผลการเรียนอ่อนจะจัดให้อยู่กับกลุ่มคนที่ได้ผลการเรียนดีๆ คนที่สุขภาพไม่ดีครอบครัวมีปัญหาก็จะช่วยอย่างเช่นเสนอชื่อขอรับทุนการศึกษาในโอกาสต่างๆพร้อมให้คำปรึกษาที่จะหาทางแก้ไขต่อไป ส่วนคนที่ได้ผลการเรียนดีนั้นหากจะลดความเสี่ยงเรื่องความเครียดนั้นคิดว่าควรที่จะให้ทำกิจกรรมกับเพื่อนมากๆให้คอยเป็นหูเป็นตาให้กับครูและช่วยเหลือเพื่อนอยู่เสมอ และคอยสั่งสอนว่าวันหนึ่งผลการเรียนอาจตกลงมาได้เป็นเรื่องที่ควรยอมรับไม่ต้องคิดมากทำชีวิตให้สนุกไว้ดีกว่า

6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการดูแลช่วยเหลือเด็กและวิธีการให้เด็กนักเรียนมาช่วยงานก็เป็นวิธีที่ดีมากที่จะให้เด็กได้ใกล้ชิดกับครูหากตัวข้าพเจ้าเป็นครูก็จะนำวิธีนี้ไปปรับใช้เช่นกัน

7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
เท่าที่เห็นไม่มีความจริงจังมากนัก หากข้าพเจ้าเป็นครูจะมีรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาเช่น การให้ฝึกสมาธิก่อนการเรียนการสอน การเข้าค่ายจริยธรรม และอื่นๆ

8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
เท่าที่เห็นที่ทราบมาการประเมินด้านสุขภาพกายและจิตใจมีความจริงจังอยู่ระดับมากพอสมควรโรงเรียนก็พยายามหาวิธีการต่างมาใช้ เช่นการออกกำลังกายตอนเช้าที่หน้าเสาธงเป็นประจำทุกวันเป็นการช่วยให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตั้งแต่เช้า

9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ

เท่าที่เห็นยอมรับว่าไม่มีการประเมินที่เป็นแบบมาตรฐานมากนัก มีแค่ครูที่สังเกตุอยู่เช่นการให้ บอกสภาพบรรยากาศของห้องเรียนของโรงเรียนและชุมชนที่อยู่อาศัยของเด็กว่ามีสภาพอย่างไรตามความรู้สึกของเด็กหากพบว่าเด็กมีความคิดเห็นอย่างเช่นว่า ห้องเรียนไม่ค่อยน่าอยู่ก็จะช่วยกันตกแต่งใหม่ให้ดูมีบรรยากาศที่น่าเรียนยิ่งขึ้นและปลูกจิตสำนึกในการดูแลชุมชนด้วยอีกทางหนึ่ง


สรุป จากประเด็นข้างบนนี้ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
การส่งเสริมเรื่องสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของนักเรียนนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาเด็กวันหนึ่งหากเราจบไปเป็นครูก็คิดว่าจะหาแนว

กิจกรรมที่ 12

ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554 หลักสูตรสังคมศึกษาได้จัดทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้  ให้นักศึกษาเล่าบรรยากาศ การเดินทาง สิ่งที่พบและเกิดองค์ความรู้ใหม่ ลงในบล็อกของนักศึกษาและนำเสนอ    ผลงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ให้นำมาใส่ลงบล็อกของนักศึกษา  และสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาให้นำเสนอว่าในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษาทำกิจกรรมอะไร ได้องค์ความรู้อะไร สรุปเขียนลงในบล็อก และนำเสนอผลงานที่นักศึกษาได้ทำ ทำเป็น Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ลงในบล็อกของนักศึกษาเช่นกัน

      สรุปงานนักศึกษาจะมี 2 ชิ้น คือ
1) สรุปเล่าเหตุการณ์การเดินทางและองค์ความรู้ที่พบลงนบล็อกของนักศึกษา 
 2) นำเสนอรูปภาพมีคำบรรยายประกอบรูปภาพ ลงในโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมอื่น ในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่ นักเรียนต้องออกแบบเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด

 ความประทับใจที่ได้ไปทัศนศึกษาภาคเหนือระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554
                                     
ความประทับใจ

หมู่บ้านเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย
ดอยปุย เป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 24 ของประเทศ มีลักษณะของพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ในแนวเทือกเขาถนนธงไชย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่บางส่วนของอำเภอรอบ ๆ สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่จะหนาวเย็นและชุ่มชื้น เนื่องจากได้รับไอน้ำจากเมฆหมอกที่ปกคลุมอยู่เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในพื้นที่อยู่ระหว่าง 10-12 องศาเซลเซียส
ยอดดอยปุย     ยอดดอยปุย สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี บนยอดดอยปกคลุมด้วยป่าสนเขาผืนใหญ่ และเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ดอยสุเทพและดอยปุยเป็นถิ่นอาศัยของนกมากกว่า 300 ชนิด เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว นกกางเขนน้ำหลังดำ นกศิวะปีกสีฟ้า ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพบินย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอีกเป็นจำนวนมาก หลายชนิดเป็นนกหายาก โดยเฉพาะ นกเขน นกจับแมลงสีคราม นกเดินดงอกลาย นกปีกแพรสีม่วง ฯลฯ
และทีประทับใจที่สุดคือ  หมู่บ้านเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย
เมือดิฉัน ได้ขึ้นไปบน หมู่บ้านเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย เป็นหมู่บ้านที่สวยมาก ดิฉันรู้สึกว่าอยู่ในโลกนิทานเพราะเพือนๆแต่งตัวกันสวยมากๆวิ่งเล่นกันเต็ม หมู่บ้านเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุยอย่างสนุกสนานเป็นอะไรที่น่าประทับใจที่สุดที่ดิฉันไดัไปมาดิฉันมาค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่10

1. กรณีเขาพระวิหาร
 ปัญหาแรกเริ่มก็คือการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกอย่างเช่นฝรั่งเศสที่ยึดกัมพูชาไปจากไทยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  2  จบลง  ฝรั่งเศสหมดอำนาจลง   กัมพูชาเป็นอิสระปกครองตนเองอย่างสมบูณ์
             อย่าง ไรก็ตามปัญหาที่ตามมาสำหรับประเทศไทยและกัมพูชาที่ยืดเยื้อมายาวนานคือสิทธิ ในดินระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ยังพิพากษ์กันอย่างต่อเนื่องนับวันยิ่งทวีความ รุนแรงมากขึ้น
โดยประเทศไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ ได้ จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวี ความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็น พื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดการปะทะกันทหารไทยบาดเจ็บ 1นายจากการปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชาอย่างไรก็ตามไทยยังใช้วิธีการประณีประนอมเจรจาเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลาม   
   2.กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย      
กล่าวคือ กัมพูชาเริ่มเปิดเกมรุกด้านดินแดนกับพื้นที่ 4.6 ตาราง กิโลเมตร ที่กัมพูชาต้องการครอบครองด้วยการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก จากนั้นเมื่อขึ้นมรดกโลกสำเร็จเส้นเขตแดนก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะส่งผลทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ โดยกินพื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
      
       ที่สำคัญคือ ประเทศไทยและกัมพูชายังมีการประกาศอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย ซึ่งมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 34,000 ตารางกิโลเมตร โดยฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2515 ซึ่งวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่มาจรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่ฝรั่งเศส โดยลากเส้นไหล่ทวีปพาดผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดของไทย
      
       ขณะที่ฝ่ายไทยประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 โดยวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่จรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่เดินเรืออังกฤษ หมายเลข 2414 โดย เส้นในช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของ กัมพูชา ส่วนเส้นช่วงที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชา ซึ่งพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนั้นทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถ ตกลงกันได้
      
       และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน ทางทะเลกลายเป็น ปัญหาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเนื่องจากฝ่ายกัมพูชาต้องการครอบครอง และถูกนำไปเชื่อมโยงกับการนำ ปราสาทพระวิหารไป ขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะในการเป็นมรดกโลกนั้นจะต้องมีเขตพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า จะเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของไทย

   3.กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีในยุคที่มีการเซ็น MOU ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นคนเซ็นลงนามในหนังสือดังกล่าวร่วมกับ นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชวนนท์ อินทรโกมาลสุตย์ เลขาฯ นายกษิต ฯลฯ
ทั้งๆ ที่ความจริงก็คือ MOU ฉบับดังกล่าวเป็น MOU ซึ่งทำให้ไทยต้องสูญเสียอธิปไตยในผืนแผ่นดินของตัวเองด้วยการยอมรับแผนที่ มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ระวางดงรักหรือ ANNEX1 ซึ่ง จะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนเป็นจำนวนมากโดยกินพื้นที่ตั้งแต่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
      
       ทั้งนี้ MOU 43 คือการร่วม กันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ข้อ ก. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ ลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 112 หรือปี ค.ศ.1893 ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศกปี 122 ปี ค.ศ. 1904  ข้อ ข. สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 ปี ค.ศ. 1907 หรือว่า 2450 กับพิธีศาลว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ ปี ค.ศ. 1907
      
       และข้อ ค. ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญมากคือแผนที่ที่จัดทำตามผลงานของการปักปันเขตแดนของคณะ กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับ 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
       สรุปสาระสำคัญของข้อ ค. คือให้ใช้แผนที่ของฝรั่งเศส
ก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
       สำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจาก MOU 43 นั้น ต้องบอกว่าเหลือคณานับ เช่น  ประชาชน ชาวไทยที่ลงทุนปลูกยางพาราและคนไทยที่ทำกินอยู่ในระแวกนั้นต้องศูนย์เสียที่ อยู่ที่ทำกินอย่างถาวรเกิดเป็นปัญหาการจัดสรรที่อยู่ใหม่ปัญหาสังคมตามมา  แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนไทยที่จะต้อง เปลี่ยนไปถึงขั้นต้องตีพิมพ์แผนที่ประเทศไทยใหม่กันทีเดียว
              4. กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
เขมรกล่าวหาว่าคนไทยล้ำแดนเขมรแต่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยก็รีบรับมุกเลย ว่าเราล้ำแดนจริง วันแรกบอกว่าล้ำแดนไป 1.2 กม. วันที่ 2 แก้ข่าวใหม่ เป็น 55 เมตร  เป็น 8 เมตรทำไมไม่ศึกษาให้ดีก่อนให้ข่าวกันอย่างไร แค่ล้ำแดนหรือไม่ล้ำแดน มันเรื่องธรรมดาทำไม ต้องขึ้นศาลเขมรด้วย  มันไม่จำเป็นเลย  เศร้าจริง ๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐก็ได้แต่ย้ำว่า ไทยเราผิดเอง เท่านั้น  การให้การแบบนี้  มันช่วยคนไทย 7 คน หรือทำให้ติดคุกกันแน่ ทำอย่างอื่นไม่เป็นแล้วกระมัง
            ใน ความคิดของผมคิดว่าทำไมต้องยอมรับด้วยในเมื่อที่ตรงนั้นอยู่ในระหว่างข้อ พิพากษ์รัฐบาลมีนัยยะอะไรแฝงอยู่หรือเปล่าเรื่องนี้มันชักยังไงอยู่หรือเป็น กลอุบายในการต่อสู้เรียกดินแดนมาเป็นของไทย หรือว่ารัฐบาลชุดนี้ความสามารถไม่ถึงกันแน่
อ้างอิง
http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=1


 

กิจรรมที่ 9


           ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)
หน้าที่และความรับผิดชอบของครู

1. บทนำ

คำว่า หน้าที่ (Duty) ตามความหมายใน Dictionary of Education นั้น หมายถึง สิ่งที่ทุกคนต้องทำ โดยปกติแล้วภาวะจำยอมจะเป็นไปตามหลักศีลธรรมแต่บางครั้งก็เป็นไปตามกฎหมาย หรือข้อตกลง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของ หน้าที่ ไว้ ดังนี้ คือ กิจที่ควรทำ,กิจที่ต้องทำ,วงแห่งกิจการ, สำหรับคำว่า ความรับผิดชอบ ให้ความหมายไว้ ดังนี้ คือการยอมรับตามผลที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ได้กระทำไป

webster s third New Internetionary dictionary ได้ให้คำนิยามของ ความรับผิดชอบ ไว้ ดังนี้

- ความรับผิดชอบด้านศีลธรรม กฎหมาย หรือ จิตใจ
- ความไว้ใจ ความเชื่อถือได้


Dictionary of Education ได้ให้ความหมายของความรับผิดชอบไว้ ไว้ว่า “หน้าที่ประจำของแต่ละบุคคล เมื่อเขาได้รับมอบหมายให้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง” ส่วนความหมายของครู ในที่นี้จะอธิบายตามรูปคำภาษาอังกฤษ คือ “Teachers” โดยสรุปจากคำอธิบายของ ยนต์ ชุ่มจิต ในหนังสือ ความเป็นครู ดังนี้ (ยนต์ ชุมจิต 2531: น. 49–55)

T (Teaching) – การสอน หมายถึง การอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถในวิชาการทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งถือว่าเป็นงานหลักของครูทุกคนทุกระดับชั้นที่สอน ตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู พ.ศ. 2526 ข้อ 3 กำหนดไว้ว่า ครูต้องตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานมิได้ และในข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ครูต้องถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพรางไม่นำหรือยอมให้นำ ผลงานทางวิชาการของตนเองไปใช้ในทางที่ทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ จากข้อกำหนดทั้ง 2 ข้อ ที่นำมากล่าวนี้จะเห็นว่าหน้าที่ของครูที่สำคัญคือการอบรมสั่งสอนศิษย์ การถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ โดยเฉพาะในข้อ 3 ของระเบียบประเพณีของครู พ.ศ. 2526 นี้ ถือว่าการอบรมสั่งสอนศิษย์เป็นหน้าที่ที่สำคัญมาก จะละทิ้งหรือทอดทิ้งไม่ได้เพราะถ้าหากครูละทิ้งการสอนก็คือครูละทิ้งหน้าที่ ของครูซึ่งการกระทำเช่นนั้นจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางความคิดและสติปัญญา ของศิษย์เป็นอย่างมาก กล่าวคือ ศิษย์ของครูจะไม่ได้รับการพัฒนา ความคิด ความรู้ และสติปัญญา หรือได้รับบ้างแต่ก็ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นครูทุกคนควรตระหนักในการสอนเป็นอันดับแรกโดยถือว่าเป็นหัวใจของความ เป็นครูคือการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดีมีความรู้ในวิทยาการทั้งปวง ซึ่งการที่ครูจะปฏิบัติหน้าที่ในการสอนของครูได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์นั้น ซึ่งสำคัญที่ครูต้องเพิ่มสมรรถภาพในการสอนให้แก่ตนเอง

E(Ethics)-จริยธรรม หมายถึงหน้าที่ในการอบรมจริยธรรมให้ แก่นักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักอีกประการหนึ่งนอกจากการสั่งสอนในด้าน วิชาความรู้โดยทั่วไปนอกจากนี้ครูทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นผู้มี จริยธรรมอันเหมาะสมอีกด้วยเพราะพฤติกรรมอันเหมาะสมที่ครูได้แสดงออกจะเป็น เครื่องมือที่สำคัญในการปลูกฝังศรัทธาให้ศิษย์ได้ปฏิบัติตาม

A ( Academic) – วิชาการ หมายถึง ครูต้องมีความรับผิดชอบในวิชาการอยู่เสมอ กล่าวคือ ครูต้องเป็นนักวิชาการอยู่ตลอดเวลา เพราะอาชีพของครูต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ดังนั้นครูทุกคนต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ หากไม่กระทำเช่นนั้นจะทำให้ความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมานั้นล้าสมัย ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการใหม่ ๆ ซึ่งมีอย่างมากมายในปัจจุบัน

C (Cultural Heritage) – การสืบทอดวัฒนธรรม หมายถึงครูต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคน รุ่นหนึ่งให้ตกทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง หรือ รุ่นต่อ ๆ ไป ซึ่งมีวิธีการที่ครูจะกระทำได้ 2 แนวใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

1. การปฏิบัติตามวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามอย่างถูกต้องเป็นประจำ กล่าวคือ ครูทุกคนจะต้องศึกษาให้เข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของ ชาติอย่างถ่องแท้เสียก่อน ต่อจากนั้นจึงปฏิบัติตามให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ศิษย์และประชาชนทั่วไปยึดถือเป็นแบบอย่าง เช่น

- การแต่งกายให้เหมาะสมตามโอกาสต่าง ๆ
- การแสดงความเคารพและกิริยามารยาทแบบไทย ๆ
- การจัดงานมงคลสมรส

2. การอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทยอย่าง ถูกต้อง และในขณะเดียวกันก็กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ประพฤติปฏิบัติตามให้ถูก ต้องตามแบบฉบับอันดีงามที่บรรพบุรุษได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา

H ( Human Relationship) – มนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง การมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีของครูต่อบุคคลทั่วๆไป เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ครูสามารถปฏิบัติหน้าที่ของครู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครูยังช่วยทำให้สถาบันศึกษาที่ครูปฏิบัติ งานอยู่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกด้วย ดังนั้น ครูทุกคนจึงควรถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบอีกประการหนึ่งที่จะต้องคอย ผูกมิตรไมตรีอันดีระหว่าง บุคคลต่าง ๆ ที่ครูมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มนุษย์สัมพันธ์ระหว่างครูกับบุคคลต่าง ๆ อาจจำแนกได้ ดังนี้

ครูกับนักเรียน

ครูกับนักเรียนนับว่าเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมากที่สุด จนกระทั่งในอดีตยกย่องให้ครูเป็นบิดาคนที่สองของศิษย์ ผู้ปกครองเมื่อส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนก็ฝากความหวังไว้กับครู กล่าวคือ มอบภาระต่าง ๆ ในการอบรมดูแล ลูกหลานของตนให้แก่ครู ดังนั้น ครูจึงควรปฏิบัติหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์ที่สุด และควรสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างครูและศิษย์ให้แน่นแฟ้น ให้ศิษย์มีความรู้สึกฝังใจตลอดไป

วิธีการที่ครูควรจะทำต่อศิษย์ เช่น

1. สอนศิษย์ให้เกิดความสามารถในการเรียนรู้ในวิชาการต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่ครูจะกระทำได้
2. สอนให้นักเรียนหรือศิษย์ของตนมีความสุขเพลิดเพลินกับการเล่าเรียนไม่เบื่อหน่าย อยากจะเรียนอยู่เสมอ
3. อบรมดูแลความประพฤติของศิษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัยหรือกรอบของคุณธรรม ไม่ปล่อยให้ศิษย์กระทำชั่วด้วยประการทั้งปวง
4. ดูแลความทุกข์สุขอยู่เสมอ
5. เป็นที่ปรึกษาหารือ ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์



E (Evaluation) – การประเมินผล หมายถึงการประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่และความรับ ผิดชอบที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งของครูเพราะการประเมินผลการเรียนการสอน เป็นการวัดความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ในด้านต่างๆหากครูสอนแล้วไม่มีการ ประเมินผลหรือวัดผลครูก็จะไม่ทราบได้ว่าศิษย์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านใด มากน้อยเพียงใด ดังนั้น ครูจึงควรจะระลึกอยู่เสมอว่า ณ ที่ใดมีการสอน ทีนั่นจะต้องมีการสอบ สำหรับการประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียนนั้น ครูสามารถใช้วิธีการต่าง ๆ ได้หลายวิธี ทั้งนี้อาจจะใช้หลาย ๆ วิธีในการประเมินผลครั้งหนึ่งหรือเลือกใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ในการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีหลายวิธี เช่น



R (Research) – การวิจัย หมายถึง ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหา เพราะการวิจัยเป็นวิธีการแก้ปัญหาและการศึกษาหาความจริง ความรู้ที่เชื่อถือได้โดยวิธี การวิจัยของครูในที่นี้ อาจจะมีความหมายเพียงแค่ค้นหาสาเหตุต่าง ๆ ที่นักเรียนมีปัญหาไปจนถึงการวิจัยอย่างมีระบบในชั้นสูงก็ได้ สาเหตุที่ครูต้องรับผิดชอบในด้านนี้ก็เพราะในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา ควรจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ปัญหาเด็กไม่ทำการบ้าน เด็กหนีโรงเรียน เด็กที่ชอบรังแกเพื่อน และเด็กที่ชอบลักขโมย เป็นต้น พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าครูสามารถแก้ไขได้ก็จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การที่ครูจะแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ครูจะต้องทราบสาเหตุแห่งปัญหานั้น วิธีการที่ควรจะทราบสาเหตุที่แท้จริงได้ ครูจะต้องอาศัยการวิจัยเข้ามาช่วย ดังนั้น หน้าที่ของครูในด้านการค้นคว้าวิจัยจึงเป็นงานที่ครูจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูทุกคนจึงควรศึกษากระบวนการวิจัยให้มีความรู้ ความเข้าใจด้วย ขั้นตอนในการวิจัยที่สำคัญมี ดังนี้

1. การตั้งปัญหา
2. การตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ปัญหา
3. การรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. สรุปผล

สำหรับขั้นตอนของการทำงานวิจัยควรดำเนินงานตามลำดับต่อไปนี้

1. การเลือกปัญหาสำหรับการวิจัย
2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. การจำกัดขอบเขตและการให้คำจำกัดความของปัญหา
4. การตั้งสมมุติฐาน
5. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
6. การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย
7. การรวบรวมข้อมูล
8. การวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูล
9. การสรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
10. การรายงานผลการวิจัย

S (Service) บริการ หมายถึง การให้บริการ คือ ครูจะต้องให้บริการแก่สังคมหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังต่อไปนี้

1. บริการความรู้ทั่วไป ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนในท้องถิ่น
2. บริการความรู้ทางด้านความรู้และสุขภาพอนามัย โดยเป็นผู้ให้ความรู้หรือเป็นผู้ประสานงานเพื่อดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชน
3. บริการด้านอาชีพ เช่น ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้ประชาชนในท้องถิ่น
4. บริการให้คำปรึกษาหารือทางด้านการศึกษาหรือการทำงาน
5. บริการด้านแรงงาน เช่น ครูร่วมมือกับนักเรียนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน
6. บริการด้านอาคารสถานที่แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มาขอใช้อาคารสถานที่ในโรงเรียนด้วยความเต็มใจ


2. หน้าที่และความรับผิดชอบของครู


1. สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์ ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตร การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและ สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน

2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์ เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย

3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร

4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ

5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า

6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์

7. ตรงต่อเวลา โดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย

8. ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

9. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคน โดยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอครูไทยในสมัยกรุงสุโขทัยถึง กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือพระภิกษุ สมัยนั้นภาระหน้าที่ของพระภิกษุที่เป็นครู